อาหารพื้นเมือง



           อาหารพื้นเมืองใน อ.แม่จริม 

                          
               ความจริงแล้วอาหารของคนใน อ.แม่จริมไม่ต่างกับอาหารของคนเมืองอื่น
               ในภาคเหนือ แต่อาจต่างกันตรงที่บางเมนูอาจใส่เครื่องปรุงพิเศษเข้าไป ในที่นี้เลยจะยก
                ตัวอย่างอาหารเมืองใน อ.แม่จริมที่ทำกินกัน
  
                1. แกงเห็ดถอบหรือแกงเห็ดเผาะ  เห็ดถอบใน อ.แม่จริมที่จะมีกินกันตามช่วงฤดูกาล
                 เป็นอาหารพื้นบ้าน ชาวบ้านทางภาคเหนือ มักทำกินกันช่วงเห็ดกำลังออกใหม่ ๆ
                ซึ่งมันจะอ่อนกำลังดี ถ้าบีบให้แตกจะเห็นเนื้อในเป็นสีขาว แต่ถ้าเห็นเป็นสีดำจะรู้ว่า 
                 เห็ดเม็ดนั้นแก่แล้ว กินไม่อร่อยเปลือกเห็ดจะแข็งๆ 



              


  2.แกงแคไก่ / แกงแคกบ   เป็นแกงผักรวมพื้นบ้านหลายๆ ชนิด ใส่เนื้อสัตว์ตามความ
ชอบ แต่ที่นิยมคือ แกงแคไก่ แกงแคกบ ส่วนเครื่องแกงมีเพียงพริกขี้หนูแห้ง กระเทียม
เกลือ กะปิโขลกรวมกัน แล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้ย่างไฟให้พอหอม จากนั้นนำมาคลุกเครื่อง
           แกงแล้วคั่วให้หอมจึงค่อยเติมน้ำ พอน้ำเดือดใส่ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ถ้ามีหวายก็ใส่          
หวายก่อน ตามด้วยมะเขือเปราะ มะเขือพวง ดอกแค ถั่วฝักยาว ชะอมใบชะพลู ตำลึง
 ผักเผ็ด ใบพริก แค่นี้ก็ได้แกงแคแสนอร่อยแล้ว
               แกงแคไก่



                แกงแคกบ  



                3. แกงเห็ดด่าน /  น้ำพริกเห็ดด่าน   เห็ดด่านเป็นเห็ดป่าจะออกเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น 
                   ชาวบ้านใน อ.แม่จริมมักจะไปเก็บเห็ดในป่า เพื่อนำมาขาย มีราคาแพงกว่าเห็ด
                    ป่าชนิดอื่นๆเห็ดด่าน จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้
                    หลายอย่างจะนำมาแกง ตำ ผัด ก็อร่อยทั้งนั้น จัดได้ว่าเป็นเห็ดหายากและอร่อย


               




               

              4. ส้ามะะเขือ  ส้ามะเขือ ทำได้โดยการนำมะเขือแจ้ซอยหรือหั่นมะเขือแจ้ให้บางๆ 
              จากนั้น ตำ   น้ำพริกเพื่อเอามายำ ใส่พริกแห้ง หอมแดง ตระไคร้ซอย น้ำปลาร้าต้ม 
           บางทีก็ใส่แคบหมู ตำลงไปด้วย บางที่ก็ใส่ จิ้นแห้งลงไป ผักชีฝรั่ง ใบหอมป้อม 
                 ปรุงรสให้เข้ากัน คลุกเคล้าจนได้ที่ ก็จะได้ ส้ามะเขือแจ้ อร่อยๆรับประทานกับข้าวเหนียว
              อุ่นๆร้อนๆ บางท่านก็ใส่น้ำปู๋ด้วย



               
                5. ห่อนึ่งไก่   นำไก่สดๆ ที่เพิ่งเก็บมาล้างให้สะอาดแล้วสับละเอียดรอไว้ 
โขลกกระเทียมหอมแดง ตะไคร้ รากผักชี พริกชี้ฟ้าให้ละเอียด แล้วนำไกสับลง
คลุกเคล้า ใส่น้ำใบ ย่านางคั้นสด เติมเกลือเล็กน้อยแล้วผสมให้เข้ากัน ตักใส่ใบตอง
สด ห่อแล้วนำไป  นึ่งราว 30 นาที จะได้ห่อนึ่งไกหอมชวนกิน





                6. แอ๊บ   แอ๊บอ่องออ (มันสมองหมู) แอ๊บไข่ แอ๊บปลา แอ๊บคล้ายการงบ (ปิ้ง เผา) 
                  ของภาคกลาง แต่ภาคเหนือไม่ใส่กะทิใช้เนื้อสับละเอียดคลุกกับพริกแกงชนิดเดียว
กับห่อนึ่งคลุกกับเนื้อใส่เนื้อ ต้นหอม ผักชี ใบมะกรูดซอย  แล้วห่อด้วยใบตองย่าง
ไฟอ่อนๆ





                7.แกงหน่อไม้ แกงหน่อไม้ มักเรียกกันว่า แกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง หน่อ
              ไม้ที่นิยมนำมาแกง ได้แก่ หน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้บง หน่อไม้ไล่ หน่อไม้ไผ่สีสุก บาง
               แห่งนิยมแกงใส่กระดูกหมู หรือปลาดุก หรือปลาช่อน หรือปลาย่าง ใส่น้ำผักย่านาง 
                และบางแห่งนิยมใส่น้ำปูลงไปในถ้วยแกง เพื่อเพิ่มรสชาติของน้ำแกง




            8. แกงขนุนใส่กระดูกหมู / ตำขนุน  กินได้ตั้งแต่ยอดอ่อน ใบอ่อน เป็นผักสด
จิ้มน้ำพริก ขนุนอ่อนลูกเล็ก นำมาทำแกงขนุน ใส่ซี่โครงหมู เนื้อหมู น้ำพริกแกง
และมะเขือส้ม มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือนำมาตำ คือการนำเอาส่วนผสม คือขนุน
อ่อนต้มให้เปื่อย แล้วนำมาโขลกรวมกันเครื่องแกง นำไปผัดกับน้ำมันกระเทียม
เจียว ใส่มะเขือเทศ ใส่ใบมะกรูด รับประทานกับกระเทียมเจียว ผักชีต้นหอม
และพริกแห้งทอด



                                                                           ที่มา http://tolungkon.pimkong.com/all%20wed/Food/c227ab0fcff0 42989e8c22c372aa44a9.jpg




                                       ที่มาhttps://phiangphitc.files.wordpress.com/2013/04/img_6812.jpg



                9. แกงผักหวานใส่ปลาแห้ง ผักหวานจะมีผักหวานป่าและผักหวานบ้านในช่วงฤดู
                       ของมัน ชาวบ้านก็จะเก็บผักหวานมาเพื่อประกอบอาหารรวมถึงเก็บมานำมาขาย 
                       ตามบ้านหรือตามตลาด การประกอบอาหาร ก็ได้ตามที่ชอบ วัตถุดิบเครื่องแกง   
                       ทำโดยตำพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือป่น และกะปิ ให้ละเอียด จนได้น้ำ
                       พริกสำหรับนำมาทำแกงผักหวานเราอาจจะแกงโดยใส่ไข่มดส้มหรือปลาแห้งก็ได้







                10. ลาบเมือง  นั้นจะแตกต่างจากลาบอิสาน ซึ่งจะเน้นไปทางรสชาดที่จัดจ้าน แต่
                ลาบเมืองนั้นจะเน้นไปที่เครื่องเทศ ที่เรียกกันติดปากว่า "น้ำพริกลาบ"ซึ่งมีส่วนผสม
                 ของสมุนไพรและเครื่องเทศมากมายหลายชนิด










    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น